Generative AI กับงานสื่อสารการตลาด
ตอนนี้เทรนด์ในการใช้ AI Generative ในงานสื่อสารการตลาดกำลังมาแรง และดูเหมือนว่าจะยืดระยะต่อไปสู่อนาคตเรื่อย ๆ ซึ่งต่างคนต่างคาดหวังผลประโยชน์จากการใช้ AI แตกต่างกันไป เช่น ต้องการความรวดเร็ว ต้องการลดต้นทุน ต้องการมองหาความแปลกไหม่ หรือต้องการได้เสถียรภาพในการผลิตผลงานจำนวนมาก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด การเลือกใช้ส่วนผสมของ AI ที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ จะสร้างความลงตัวให้กับทุกโจทย์ในมือคุณ
วันนี้เราใช้ AI ทำอะไรในงานสื่อสารการตลาดบ้าง
1. Brand Visual Asset Library
การที่แบรนด์มีคลังภาพเก็บไว้ จะสามารถช่วยให้กระบวนการทำงานระยะยาวเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น แบรนด์สามารถดึงภาพเหล่านี้ ไปใช้งานในการทำ Always-on Content ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่ว่าจะเป็นงานเร่งด่วน งานเฉพาะกิจที่ตอบรับโอกาสทางการตลาดแบบเฉียบพลัน ก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว
2. Brand Visual for Commercial
การใช้ AI Generative แทน หรือนำไปประกอบกับกระบวนการทำโปรดักชั่นถ่ายภาพนั้น จะช่วยลดเวลา และต้นทุนในการทำงานลงได้มาก อีกทั้งยังสร้างโอกาสให้ Creative คิดได้กว้างกว่าเดิม โดยไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไป และยังสามารถนำ AI เข้ามาช่วยทดลองไอเดียระหว่างการทำงานได้
3. Virtual Brand Ambassador
การใช้ AI บุคคลเสมือนเพื่อเป็น Brand Ambassador หรือตัวแทนของแบรนด์นั้น มีความพิเศษคือ เราต้องสร้างบุคคลเสมือนขึ้นมาจริง ๆ ไม่ใช่เพียงแค่การ Gen AI ออกมาเป็นภาพเท่านั้น แต่ยังต้องสร้างเรื่องราวให้เสมือนเป็นบุคคลจริง หลายคนอาจมองว่าการใช้ AI ในงานลักษณะนี้ เพื่อต้องการที่จะลดต้นทุน แต่ในความเป็นจริงแล้ว จุดเด่นที่สำคัญคือ การควบคุมที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือภาพลักษณ์ที่แบรนด์ต้องการ เราจะสามารถควบคุมให้ Brand Ambassador เป็นไปตรงตามความต้องการได้
4. AI-Generated Images
การใช้ AI ในการทำภาพประกอบ หรือพร็อพประกอบภาพ เพื่อนำไปใช้ในการสื่อสารการตลาด จะช่วยลดต้นทุน หากต้องการทำงานที่มีจำนวนชิ้นงานไม่มาก และสามารถสร้างภาพที่สามารถใช้ในการประกอบการเล่าเรื่อง หรือนำไปเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ Key Visual ได้
5. AI-Generated Video
การใช้ AI เพื่องานวิดีโอนั้น ใช้เพื่อช่วบลดระยะเวลาในการผลิต และควบคุมต้นทุนให้เหมาะสมได้ แต่อาจจะยังมีข้อจำกัดในการสร้างรายละเอียดอยู่บ้าง จึงเหมาะกับงานที่มีการเล่าเรื่องที่ไม่ซับซ้อน หรือวิดีโอที่เป็นการใช้ประกอบ Website หรือใช้เป็นสื่อสำหรับเป็น Ambient เพื่อสร้างบรรยากาศในงานกิจกรรมการตลาด
6. AI-Generated Music and Song
การใช้ AI เข้ามาช่วยในการแต่งทำนองและคำร้อง ประกอบจากไอเดียครีเอทีฟที่ตกตะกอนแล้ว เสมือนมีทีมทำเพลงขนาดย่อม ที่มีเครื่องดนตรี และแนวเพลงที่หลากหลายมาช่วยงานครีเอทีฟ เหมาะกับการทำสื่อเพื่อต่อยอดจากไอเดียหลัก ที่ใช้ในการ Spin-off media อื่น ๆ เพื่อให้เกิดการเน้นย้ำไอเดียครีเอทีฟในสื่อใหม่ ๆ สามารถช่วยลดระยะเวลาการทำงาน และงบประมาณที่ใช้ผลิตสื่อส่วนขยาย
7. AI Visualization for Strategic Concept
การใช้ AI เข้ามาช่วยทีมกลยุทธ์ในการวาง Strategic Direction ของงานสื่อสารการตลาดให้แม่นยำมากขึ้น โดยใช้เครื่องมือ AI ที่ถูกพัฒนาโดย NMG ที่จะนำ AI เข้ามาช่วยสร้างภาพประกอบ ให้เห็น Mood and Tone และวิธีการเล่าเรื่องจาก Strategic Direction ที่ทางทีมกลยุทธ์ได้วางแผนและคิดขึ้นมา โดยผลที่ออกมาจะเป็นเสมือนภาพสะท้อนความคิด ให้ทีมงานได้เข้าใจและเห็นภาพในกลยุทธ์นั้น ๆ เพื่อประเมินและปรับรายละเอียดได้ก่อน หรือสามารถใช้ทำ Concept Acceptance Test กับกลุ่มเป้าหมายตัวอย่าง ก่อนที่จะนำไปถูกพัฒนาเป็นงานครีเอทีฟในลำดับถัดไป การใช้เครื่องมือ AI เข้ามาช่วยนี้จะทำให้ประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้
สรุปบทความ
จะเห็นได้ว่า AI Generative กำลังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในงานสื่อสารการตลาด เนื่องจากมีความสามารถในการสร้างสรรค์ และลดต้นทุนในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่การสร้างคลังภาพ ไปจนถึงการผลิตภาพ Key Visual สำหรับงานโฆษณา และการสร้างบุคคลเสมือนที่เป็นตัวแทนของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างวิดีโอ เพลง หรือช่วยในการวางกลยุทธ์ อีกทั้ง AI Generative ยังสามารถสร้างงานที่ตรงกับความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ AI Generative เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะสามารถเข้ามาช่วยงานการสื่อสารการตลาดในอนาคตได้อย่างแน่นอน