เริ่มต้นมีเว็บไซต์ของตัวเอง ต้องทำอะไรบ้าง

การมีเว็บไซต์ของตัวเอง จะทำให้แบรนด์ดูมีความน่าเชื่อถือ แต่การที่จะสร้างเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพนั้น ควรมีการวางแผน และเตรียมการอะไรบ้าง

การมีเว็บไซต์ของตัวเอง สำหรับแบรนด์สินค้าหรือธุรกิจนั้น ทำให้องค์กรดูมีความน่าเชื่อถือ เป็นช่องทางการติดต่อกับลูกค้าแบบเป็นทางการ รวมไปถึงการเป็นช่องทางการสื่อสารของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี แต่การที่จะสร้างเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจนั้น ควรมีการวางแผน และเตรียมการอะไรบ้าง

1. กำหนดจุดประสงค์ หรือเป้าหมายให้ชัดเจน

นอกจากที่จะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจแล้ว ควรระบุให้เฉพาะเจาะจงอีกด้วยว่าจะมีเว็บไซต์ไว้เพื่ออะไร เช่น

  • เพื่อเป็นข้อมูลสินค้าและบริการให้แต่ลูกค้า (Customer) หรือเป็นกลุ่มธุรกิจ องค์กรที่จะติดต่อ ในลักษณะของ B2B
  • ใช้เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า (e-commerce) รองรับระบบตะกร้าสินค้า การชำระเงินออนไลน์ การจัดส่ง ฯลฯ
  • ใช้เป็นแหล่งเก็บข้อมูลลูกค้า (Fist-party data) เพื่อประโยชน์ในการทำการตลาดผ่าน re-targeting, e-mail marketing, sms marketing หรือการตลาดรูปแบบอื่นๆ ทั้งนี้รูปแบบการเก็บข้อมูลมีได้หลากหลาย เช่น ระบบบอกรับสมาชิกจดหมายข่าว (e-news letter) การสมัครสมาชิกเว็บไซต์เพื่อเข้าถึงเนื้อหาเฉพาะสมาชิก ลดการพึ่งพาการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า, กลุ่มเป้าหมายผ่านแพล็ตฟอร์มอื่น ผู้บริโภคสามารถเลือกยอมรับ หรือปฏิเสธการให้ข้อมูลส่วนบุคคลได้ทุกเมื่อ
  • กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ว่าเป็นลูกค้าที่เป็นกลุ่มผู้บริโภคโดยตรง หรือเป็นกลุ่มธุรกิจ ช่วงอายุ อุปกรณ์ของคนที่จะเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อวางแผน user experience ต่อไป

2. จัดเตรียมข้อมูล

ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นเช่น ประวัติขององค์กร หรือแบรนด์ ที่ตั้ง ช่องทางการติดต่อ ผลงานที่ผ่านมา นอกจากนี้ถ้าเป็น e-commerce website ก็ต้องเตรียมรูปภาพสินค้า คำอธิบายสินค้า ช่องทางการชำระเงิน การจัดส่งสินด้วย ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงอัตลักษณ์ของแบรนด์สินค้า หรือ Corporate Indentity (CI) เพื่อให้การออกแบบ การใช้สี mood and tone และโลโก้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

3. เลือกชื่อโดเมน และชื่อในโซเซียลมีเดีย

ชื่อโดเมนที่ดีควรเป็นชื่อธุรกิจ ชื่อแบรนด์ หรือตัวย่อ ที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

  • สั้น กระชับ สื่อถึงธุรกิจได้เป็นอย่างดี
  • เลือกนามสกุล .co.th หรือ .in.th เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ทั้งต่อผู้ใช้งานเอง และเป็นประโยชน์ต่อการจัดอันดับของ Google เนื่องจากนามสกุลโดเมนข้างต้นนั้นต้องมีการยืนยันตัวตนด้วยการส่งเอกสารรับรองการจดทะเบียนบริษัท คนทั่วไปไม่สามารถจดทะเบียนได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากไม่อยากให้ดูเป็นทางการจนเกินไป ควรใช้นามสกุลทั่วไป เพื่อเพิ่มโอกาสติด Search มากขึ้นอย่างเช่น .com, .net, .org
  • อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนเว็บไซต์ที่มีมากขึ้น ชื่อที่เราต้องการอาจจะมีการใช้ไปแล้ว อาจจะมองหานามสกุลใหม่ๆที่สะท้อนตัวตนของแบรนด์ได้ดีกว่า มีความนำสมัยกว่า เช่น .ai, .digital, .media, .tech, .deb, .io, .app เป็นต้น เพื่อสื่อว่าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร ซึ่งต้องคำนึงด้วยว่ากลุ่มเป้าหมายสามารถรับรู้ และเข้าใจได้หรือไม่ว่าเป็นนามสกุลโดเมนที่ใช้งานได้ อีกทั้งอาจจะมีผลต่อ SEO ในช่วงเริ่มแรกของปล่อยเว็บไซต์ เนื่องจาก Google อาจจะมองว่าเป็นสแปมเว็บไซต์
  • ควรเป็นชื่อเดียว หรือสื่อไปในทางเดียวกันกับชื่อที่จะใช้ในโซเซียลมีเดียอื่นๆ เช่น Facebook, TikTok, Instagram หรือ Twitter เป็นต้น เพื่อสร้างการรับรู้และการจดจำ
  • ธุรกิจควรเป็นเจ้าของโดเมน และโฮสติ้งเอง ไม่ควรฝากให้ agency หรือนักพัฒนาภายนอกเป็นคนถือครอง เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการกรณีที่จะอัพเดทเว็บไซต์ เปลี่ยน CMS หรือเปลี่ยนนักพัฒนา

4. เลือกเครื่องมือในการพัฒนาเว็บไซต์

การพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมาใหม่ โดยนักพัฒนาเว็บไซต์ มีข้อดีเช่น กำหนดขอบเขตของเว็บไซต์ได้ ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ กำหนดระยะเวลาโครงการได้ แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การส่งมอบ source code ที่เจ้าของสามารถเข้าถึงเองได้ทั้งหมดหรือไม่ สามารถส่งมอบให้ผู้พัฒนาภายในองค์กรสามารถใช้งาน หรือพัฒนาเว็บไซต์ได้ต่อเนื่องหรือไม่ ในกรณีที่ต้องการอัพเดทเพิ่มเติม มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือไม่ มีงบประมาณเพียงพอหรือเปล่า

ในขณะที่การเลือกใช้เว็บไซต์สำเร็จรูป หรือ CMS (Content Management System) เช่น Wordpress, Joomla, Wix, Drupal เป็นต้น แม้จะปรับแต่ง ออกแบบ หรือเขียนขึ้นมาใหม่ให้ได้ดั่งต้องการ ก็อาจจะใช้เวลา และทักษะของนักพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญ ขึ้นอยู่กับงบประมาณ แต่การเลือกใช้ CMS ก็มีข้อดีเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มีเทมเพลตหรือธีม (Theme) หลากหลาย ครบทุกความต้องการ ขยายขนาดเว็บไซต์ให้รองรับปริมาณผู้เข้าชมได้ตั้แต่ขนาดเล็กๆ ไปจนถึงปริมาณมหาศาล

5. ปรับแต่งเว็บไซต์ให้รองรับ SEO

  • การกำหนดชื่อลิ้งค์ หัวข้อ ที่อยู่ในเว็บไซต์ให้มี Keyword เป็นส่วนประกอบ
  • เนื้อหา บทความในเว็บไซต์ไม่ควรสั้นจนเกินไป ควรมี keyword ในช่วงต้นๆของเนื้อหาหรือบทความ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ข้อความในรูปภาพ หรือกราฟฟิกประกอบมากจนเกินไป หรือถ้ามีก็ควรมีคำอธิบายรูปภาพประกอบด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับการจัดอันดับในผลลัพธ์การค้นหาในหน้าแรกของ Google
  • ปรับแต่งภาพประกอบไม่ให้มีขนาดใหญ่เกินไป ควรจะปรับให้เล็กที่สุด แต่ยังคงความคมชัดที่สุด เพื่อไม่ให้เว็บไซต์ใช้เวลาโหลดนานจนเกินไป
  • เลือกใช้ Hosting ที่เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว หลีกเลี่ยงการแชร์โฮสต์กับผู้อื่นที่อาจจะราคาถูกกว่า แต่ก็ต้องแลกกับความไม่เสถียรของระบบ ซึ่งมีผลต่อประสบการณ์ผู้ใช้งาน และการจัดอันดับ SEO

ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงคำแนะนำพื้นฐานสำหรับการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยตามแต่ประเภทธุรกิจ จุดประสงค์ของการมีเว็บไซต์ ทั้งนี้เว็บไซต์ที่ดีควรมีการอัพเดทเนื้อหาสม่ำเสมอ นำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง รับฟังฟีดแบกจากผู้ใช้งานแล้วนำมาปรับปรุง เพียงเท่านี้การมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองก็จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งเจ้าของธุรกิจเอง รวมไปถึงผู้บริโภคด้วย

Writer
NMG Team

เราคือ Marketing Agency ที่มีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเพื่อการมีส่วนร่วมในเอเชียแปซิฟิก พร้อมทีมงานมืออาชีพ

As a creative agency, we believe in the power of imagination and innovation. We are constantly pushing the boundaries of what is possible, and strive to create work that is not only beautiful and effective, but also meaningful and impactful.

LET'S START A PROJECT

contact@neumerlin.com
By using this website, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. View our Privacy Policy for more information.