Hack ตัวเองสู่การตลาดแห่งโลกใหม่ ด้วย Engagement Marketing

การตลาดทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการแข่งขันมากขึ้นทุกวัน เราไม่ได้ต้องการแค่ “มากกว่า” คู่แข่ง แต่จะต้องทำอะไรที่ “ใช่กว่า”

ทำความรู้จัก EMP หรือ Engagement Marketing Platform ได้ ที่นี่

การตลาดทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการแข่งขันมากขึ้นทุกวัน นักการตลาดเองก็ไม่ได้ต้องการแค่ “มากกว่า” คู่แข่ง แต่เป็นเกมการแข่งขันที่ต้องทำอะไรที่ “ใช่กว่า” ในปริมาณที่มาก “สำหรับผม...ซึ่งเป็นนักการตลาดรุ่นเก่า การเรียนรู้ (learn) สิ่งใหม่ๆ ไม่ใช่เรื่องที่ท้าทาย เท่ากับการลืม (unlearn) อะไรที่เคยเป็นสูตรสำเร็จในอดีต”

"ไม่ใช่ว่าจะต้องโยนความรู้เดิมทิ้งไป แต่ควรมองหาวิธีการใหม่ๆที่เทคโนโลยีวันนี้สามารถทำได้เพื่อตอบเป้าหมายเดิม"

เชื่อเถอะว่า...วิธีการของโลกใบใหม่มันส์กว่าโลกใบเก่าเยอะ! และการเริ่มต้น Growth Hack แบบที่จั่วหัวไว้ก็ไม่ยาก เพราะมันเริ่มต้นด้วยการ Hack ตัวเอง ด้วยการบอกตัวเองว่า “ไอ้สิ่งที่เราเคยฝันมันทำได้แล้วนะ จากนั้นต้องกลับไปกล้าที่จะฝันอีกครั้ง”

1. Mass Personalization

คำนี้ได้ยินกันมานานมันคือ การตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มากกว่าปกติ ไม่ได้ตอบแค่ระดับ Segment แต่ตอบในระดับบุคคล และเมื่อเราเริ่มแบ่ง Segmentation ได้เข้าใกล้ระดับบุคคลมากขึ้น เราก็จะเข้าใกล้การทำ One-to-One Marketing ซึ่งจะตอบโจทย์ลูกค้าระดับบุคคลได้ในปริมาณที่มากขึ้น มันไม่ได้มีอะไรใหม่ แค่วันนี้ Mass Personalization มันทำได้จริง

2. Direct to consumer

หรือเรียกสั้นๆ ว่า D2C สองสามปีที่ผ่านมาเราได้ยินคำนี้บ่อยมาก เรียกว่า 80% ของโจทย์ที่เราได้รับก็ว่าได้ การทำ D2C มีข้อดีหลายอย่าง แต่ความต้องการส่วนมากคือ ต้องการบายพาสช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อสื่อสารและทำธุรกรรมโดยตรงกับลูกค้า ซึ่งผลดีที่ตามมาคือ ได้ Big Data จากข้อมูลการบริโภคและ Qualitative Insights เพื่อไปพัฒนาธุรกิจได้แบบ Real-Time อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนในช่องทางการจัดจำหน่ายเดิม

Direct to consumer

แต่อย่าลืมว่าการลงทุนกับ D2C มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าคิดแบบหัวการเงินคุณก็แค่เปลี่ยน Variable Cost ในช่องทางการจัดจำหน่ายเดิมมาลงทุนแบบ Fixed Cost ในช่องทาง D2C และถ้าคุณสร้าง Financial Leverage ได้เมื่อไร Growth Hack ของคุณเกิดขึ้นแน่นอน แต่ต้องหวังผลในระยะยาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรม และตลาดของคุณด้วย

3. Inbound Marketing

เป็นวิธีการทำการตลาดที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง มีผู้กำหนดนิยามมันไว้หลากหลาย บางคนว่ามันคือ คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งที่มีเป้าหมายทางการขายมากขึ้น บางคนก็บอกว่ามันคือการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่าสร้างแรงดึงดูดให้ผู้บริโภคเข้ามาหาแบรนด์เอง ซึ่งต่างกับ Outbound Marketing ที่แบรนด์ทำโฆษณาไป Interupt ผู้บริโภค

ในมุมมองของผู้เขียนมองว่า Inbound Marketing ไม่ได้มาแทนของเก่า แต่เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะมาเสริมทัพ ทำให้การทำการตลาดแบบองค์รวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยในการจัดระเบียบ Consumer Journey และถ้ามองในมุม Conversion Funnel (ขอให้นึกง่าย ๆ แค่ Awareness > Engagement > Purchase) มันก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่เก็บเกี่ยว Awareness ลงมาสู่ Funnel  ล่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อสินค้าในที่สุด

และอีกหนึ่งประโยชน์ที่สำคัญมากๆ คือการทำ Inbound Marketing จะช่วยลดต้นทุนดิจิทัลมีเดียได้อย่างมหาศาลในระยะยาว เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งเมื่อคุณมี Engaged Users ใน Database มากพอ คุณจะมี Custom Audience ในการทำ Direct Marketing ที่มีต้นทุนมีเดียที่ต่ำกว่ามาก โดยจากสถิติที่เราศึกษาธุรกิจแบบ B2B หรือ High Involvement Products จะมีจุดคุ้มทุนที่จับต้องได้เป็นรูปธรรมและรวดเร็วกว่าในเชิงยอดขาย

4. Automation

แปลตรงตัวคือการให้ระบบอัตโนมัติทำงานแทนเรา เบื้องต้น Automation แบ่งได้สองระดับ ระดับแรกคือเรารู้ว่าควรจะร้อยเรียงเรื่องราวและออกแบบ Consumer/User Journey อย่างไร แต่ด้วยปริมาณ User และ Journey Designs ที่มากมายมหาศาล เราจำเป็นต้องให้ระบบอัตโนมัติช่วยทำตามที่เราออกแบบไว้

อีกระดับหนึ่งคือเราคิดไม่ได้ว่าต้องทำยังไง อาจจะด้วยข้อมูลที่เยอะมากจนเราดูไม่ไหว หรือเป็นการวิเคราะห์บางอย่างที่ AI ทำได้ดีกว่า เราก็จะปล่อยให้ระบบอัตโนมัติคิดและทำให้ ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของ AI และคุณภาพของข้อมูลที่มันนำไปใช้วิเคราะห์

ในทางปฎิบัติเรามักจะใช้ทั้งสองแบบร่วมกัน การนำ Automation มาใช้อย่างเหมาะสมจึงเป็นทางลัดอย่างนึงที่จะทำให้ธุรกิจคุณ Scale ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือตัวเราต้องทำความเข้าใจการทำงานและศักยภาพของ Automation Platform ก่อน แล้วจึงคิดว่าเราจะ Hack ธุรกิจตัวเองอย่างไรด้วยระบบ Automation

“ทุกวันนี้เรายังต้องคิดว่า ต้องทำอย่างไรถึงจะดี แล้วเอา AI มาช่วย เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความเร็ว ซึ่งผมเองก็ดีใจที่มนุษย์อย่างผมยังไม่ตกงาน”

5. Omni-Channel Integration

ช่องทางการตลาดแบบผสมผสานที่เรียกว่า Omni-Channel มีอะไรมากกว่าจำนวนช่องทางที่หลากหลาย Omni-Channel ต่างจาก Multi-Channel ตรงที่เป็นการผสมผสานทุกช่องทางเป็นหนึ่ง หัวใจสำคัญอยู่ที่การจัดการให้ได้แบบองค์รวม (Integration)

Omni-Channel Integration

ยกตัวอย่างการทำการตลาดแบบ Omni-Channel คือคุณสามารถสื่อสารหรือขายของบนกี่ช่องทางก็ได้ แต่มันจะเป็น Omni-Channel ได้โดยการที่ทุกอย่างต้องเชื่อมต่อกัน เช่น คุณต้องรู้ว่าผู้ใช้งานที่กำลังอ่านบทความบนเว็บไซต์ของคุณคือคนเดียวกันกับคนที่เป็น Line OA fan และคนนั้นเคยไปซื้อสินค้าของคุณที่ห้างแห่งหนึ่งเมื่อวันก่อน

ถ้าเราสามารถมีข้อมูลแบบนี้ได้ คุณก็จะสามารถส่งมอบประสบการณ์แบบ Seamless Experience ที่ให้คุณแน่ใจได้ว่าคุณจะสร้าง Win-Win Senario ให้ผู้บริโภคของคุณได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด ในขณะเดียวกันแบรนด์เองก็สามารถสร้างมูลค่าต่อผู้บริโภคหนึ่งคนได้สูงสุดเช่นกัน

Writer
NMG Team

เราคือ Marketing Agency ที่มีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเพื่อการมีส่วนร่วมในเอเชียแปซิฟิก พร้อมทีมงานมืออาชีพ

As a creative agency, we believe in the power of imagination and innovation. We are constantly pushing the boundaries of what is possible, and strive to create work that is not only beautiful and effective, but also meaningful and impactful.

LET'S START A PROJECT

contact@neumerlin.com
By using this website, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. View our Privacy Policy for more information.