การตลาดทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการแข่งขันมากขึ้นทุกวัน เราไม่ได้ต้องการแค่ “มากกว่า” คู่แข่ง แต่จะต้องทำอะไรที่ “ใช่กว่า”
ทำความรู้จัก EMP หรือ Engagement Marketing Platform ได้ ที่นี่
การตลาดทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการแข่งขันมากขึ้นทุกวัน นักการตลาดเองก็ไม่ได้ต้องการแค่ “มากกว่า” คู่แข่ง แต่เป็นเกมการแข่งขันที่ต้องทำอะไรที่ “ใช่กว่า” ในปริมาณที่มาก “สำหรับผม...ซึ่งเป็นนักการตลาดรุ่นเก่า การเรียนรู้ (learn) สิ่งใหม่ๆ ไม่ใช่เรื่องที่ท้าทาย เท่ากับการลืม (unlearn) อะไรที่เคยเป็นสูตรสำเร็จในอดีต”
"ไม่ใช่ว่าจะต้องโยนความรู้เดิมทิ้งไป แต่ควรมองหาวิธีการใหม่ๆที่เทคโนโลยีวันนี้สามารถทำได้เพื่อตอบเป้าหมายเดิม"
เชื่อเถอะว่า...วิธีการของโลกใบใหม่มันส์กว่าโลกใบเก่าเยอะ! และการเริ่มต้น Growth Hack แบบที่จั่วหัวไว้ก็ไม่ยาก เพราะมันเริ่มต้นด้วยการ Hack ตัวเอง ด้วยการบอกตัวเองว่า “ไอ้สิ่งที่เราเคยฝันมันทำได้แล้วนะ จากนั้นต้องกลับไปกล้าที่จะฝันอีกครั้ง”
1. Mass Personalization
คำนี้ได้ยินกันมานานมันคือ การตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มากกว่าปกติ ไม่ได้ตอบแค่ระดับ Segment แต่ตอบในระดับบุคคล และเมื่อเราเริ่มแบ่ง Segmentation ได้เข้าใกล้ระดับบุคคลมากขึ้น เราก็จะเข้าใกล้การทำ One-to-One Marketing ซึ่งจะตอบโจทย์ลูกค้าระดับบุคคลได้ในปริมาณที่มากขึ้น มันไม่ได้มีอะไรใหม่ แค่วันนี้ Mass Personalization มันทำได้จริง
2. Direct to consumer
หรือเรียกสั้นๆ ว่า D2C สองสามปีที่ผ่านมาเราได้ยินคำนี้บ่อยมาก เรียกว่า 80% ของโจทย์ที่เราได้รับก็ว่าได้ การทำ D2C มีข้อดีหลายอย่าง แต่ความต้องการส่วนมากคือ ต้องการบายพาสช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อสื่อสารและทำธุรกรรมโดยตรงกับลูกค้า ซึ่งผลดีที่ตามมาคือ ได้ Big Data จากข้อมูลการบริโภคและ Qualitative Insights เพื่อไปพัฒนาธุรกิจได้แบบ Real-Time อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนในช่องทางการจัดจำหน่ายเดิม
แต่อย่าลืมว่าการลงทุนกับ D2C มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าคิดแบบหัวการเงินคุณก็แค่เปลี่ยน Variable Cost ในช่องทางการจัดจำหน่ายเดิมมาลงทุนแบบ Fixed Cost ในช่องทาง D2C และถ้าคุณสร้าง Financial Leverage ได้เมื่อไร Growth Hack ของคุณเกิดขึ้นแน่นอน แต่ต้องหวังผลในระยะยาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรม และตลาดของคุณด้วย
3. Inbound Marketing
เป็นวิธีการทำการตลาดที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง มีผู้กำหนดนิยามมันไว้หลากหลาย บางคนว่ามันคือ คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งที่มีเป้าหมายทางการขายมากขึ้น บางคนก็บอกว่ามันคือการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่าสร้างแรงดึงดูดให้ผู้บริโภคเข้ามาหาแบรนด์เอง ซึ่งต่างกับ Outbound Marketing ที่แบรนด์ทำโฆษณาไป Interupt ผู้บริโภค
ในมุมมองของผู้เขียนมองว่า Inbound Marketing ไม่ได้มาแทนของเก่า แต่เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะมาเสริมทัพ ทำให้การทำการตลาดแบบองค์รวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยในการจัดระเบียบ Consumer Journey และถ้ามองในมุม Conversion Funnel (ขอให้นึกง่าย ๆ แค่ Awareness > Engagement > Purchase) มันก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่เก็บเกี่ยว Awareness ลงมาสู่ Funnel ล่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อสินค้าในที่สุด
และอีกหนึ่งประโยชน์ที่สำคัญมากๆ คือการทำ Inbound Marketing จะช่วยลดต้นทุนดิจิทัลมีเดียได้อย่างมหาศาลในระยะยาว เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งเมื่อคุณมี Engaged Users ใน Database มากพอ คุณจะมี Custom Audience ในการทำ Direct Marketing ที่มีต้นทุนมีเดียที่ต่ำกว่ามาก โดยจากสถิติที่เราศึกษาธุรกิจแบบ B2B หรือ High Involvement Products จะมีจุดคุ้มทุนที่จับต้องได้เป็นรูปธรรมและรวดเร็วกว่าในเชิงยอดขาย
4. Automation
แปลตรงตัวคือการให้ระบบอัตโนมัติทำงานแทนเรา เบื้องต้น Automation แบ่งได้สองระดับ ระดับแรกคือเรารู้ว่าควรจะร้อยเรียงเรื่องราวและออกแบบ Consumer/User Journey อย่างไร แต่ด้วยปริมาณ User และ Journey Designs ที่มากมายมหาศาล เราจำเป็นต้องให้ระบบอัตโนมัติช่วยทำตามที่เราออกแบบไว้
อีกระดับหนึ่งคือเราคิดไม่ได้ว่าต้องทำยังไง อาจจะด้วยข้อมูลที่เยอะมากจนเราดูไม่ไหว หรือเป็นการวิเคราะห์บางอย่างที่ AI ทำได้ดีกว่า เราก็จะปล่อยให้ระบบอัตโนมัติคิดและทำให้ ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของ AI และคุณภาพของข้อมูลที่มันนำไปใช้วิเคราะห์
ในทางปฎิบัติเรามักจะใช้ทั้งสองแบบร่วมกัน การนำ Automation มาใช้อย่างเหมาะสมจึงเป็นทางลัดอย่างนึงที่จะทำให้ธุรกิจคุณ Scale ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือตัวเราต้องทำความเข้าใจการทำงานและศักยภาพของ Automation Platform ก่อน แล้วจึงคิดว่าเราจะ Hack ธุรกิจตัวเองอย่างไรด้วยระบบ Automation
“ทุกวันนี้เรายังต้องคิดว่า ต้องทำอย่างไรถึงจะดี แล้วเอา AI มาช่วย เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความเร็ว ซึ่งผมเองก็ดีใจที่มนุษย์อย่างผมยังไม่ตกงาน”
5. Omni-Channel Integration
ช่องทางการตลาดแบบผสมผสานที่เรียกว่า Omni-Channel มีอะไรมากกว่าจำนวนช่องทางที่หลากหลาย Omni-Channel ต่างจาก Multi-Channel ตรงที่เป็นการผสมผสานทุกช่องทางเป็นหนึ่ง หัวใจสำคัญอยู่ที่การจัดการให้ได้แบบองค์รวม (Integration)
ยกตัวอย่างการทำการตลาดแบบ Omni-Channel คือคุณสามารถสื่อสารหรือขายของบนกี่ช่องทางก็ได้ แต่มันจะเป็น Omni-Channel ได้โดยการที่ทุกอย่างต้องเชื่อมต่อกัน เช่น คุณต้องรู้ว่าผู้ใช้งานที่กำลังอ่านบทความบนเว็บไซต์ของคุณคือคนเดียวกันกับคนที่เป็น Line OA fan และคนนั้นเคยไปซื้อสินค้าของคุณที่ห้างแห่งหนึ่งเมื่อวันก่อน
ถ้าเราสามารถมีข้อมูลแบบนี้ได้ คุณก็จะสามารถส่งมอบประสบการณ์แบบ Seamless Experience ที่ให้คุณแน่ใจได้ว่าคุณจะสร้าง Win-Win Senario ให้ผู้บริโภคของคุณได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด ในขณะเดียวกันแบรนด์เองก็สามารถสร้างมูลค่าต่อผู้บริโภคหนึ่งคนได้สูงสุดเช่นกัน
เราคือ Marketing Agency ที่มีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเพื่อการมีส่วนร่วมในเอเชียแปซิฟิก พร้อมทีมงานมืออาชีพ