Branding 101: เปิดตำราขั้นตอนการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง

การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำ และประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจได้ ซึ่งจะต้องมีขั้นตอนและกลยุทธ์ที่ละเอียดอ่อน

เมื่อตัดสินใจเริ่มต้นทำธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่เจ้าของแบรนด์ต้องพบเจออย่างแน่นอนก็คือ คู่แข่งทางการตลาด เพราะไม่ว่าจะมีสินค้าวนเวียนอยู่ในตลาดมากเพียงใด แต่สินค้าหรือบริการที่คุณคิดจะขายย่อมมีโอกาสซ้ำหรือเกิดการลอกเลียนแบบจากคนอื่นอยู่ดี ทำให้สิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความแตกต่าง และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ของคุณ ไม่ได้มีเพียงการตั้งชื่อแบรนด์ การออกแบบโลโก้ หรือแพ็กเกจจิ้งที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังต้องมีการสร้างแบรนด์ (Branding) ที่แข็งแกร่งอีกด้วย 

NeuMerlin จึงได้รวบรวม 10 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง พร้อมประโยชน์ของการสร้างแบรนด์ต่อธุรกิจมาแนะนำให้คุณได้ทราบกันในบทความนี้ เพื่อให้คุณสามารถสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจได้

การสร้างแบรนด์ (Branding) คืออะไร?

การสร้างแบรนด์ (Branding) คือ การที่แบรนด์รู้จุดยืน ภาพลักษณ์ และรู้จักความเป็นตัวตนของแบรนด์ และสื่อสารสิ่งเหล่านั้นออกไปผ่านโฆษณา การใช้คำพูด โลโก้ และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ จนทำให้ผู้บริโภคเกิดภาพจำที่ดี และมีความเชื่อมั่นในสินค้าหรือบริการของแบรนด์จนเกิดการตัดสินใจซื้อในที่สุด

การสร้างแบรนด์มีกี่ประเภท

การสร้างแบรนด์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การสร้างแบรนด์ส่วนบุคคลและการสร้างแบรนด์ธุรกิจ แต่ละประเภทมีเป้าหมายและกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองประเภทล้วนมีความสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือและดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย

การสร้างแบรนด์ส่วนบุคคล

การสร้างแบรนด์ส่วนบุคคลเป็นกระบวนการพัฒนาและนำเสนอตัวตน ความเชี่ยวชาญ และคุณค่าของบุคคลให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เหมาะสำหรับผู้เชี่ยวชาญ นักธุรกิจ หรือบุคคลที่ต้องการสร้างชื่อเสียงในสายอาชีพของตน การสร้างแบรนด์ประเภทนี้มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะ ความรู้ และการสื่อสารเอกลักษณ์ของตนเองผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ การพูดในที่สาธารณะ หรือการเขียนบทความ

การสร้างแบรนด์ธุรกิจ

การสร้างแบรนด์ธุรกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาพลักษณ์และตำแหน่งทางการตลาดของบริษัทหรือองค์กร เป้าหมายคือการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งและสร้างความภักดีในหมู่ลูกค้า การสร้างแบรนด์ธุรกิจครอบคลุมทุกแง่มุมของการดำเนินงาน ตั้งแต่การออกแบบโลโก้ การกำหนดค่านิยมองค์กร ไปจนถึงการสื่อสารกับลูกค้าและพนักงาน ความสำเร็จของแบรนด์ธุรกิจขึ้นอยู่กับความสามารถในการส่งมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องกับคำมั่นสัญญาของแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ

ประโยชน์ของการสร้างแบรนด์ (Branding) ต่อธุรกิจ

การสร้างแบรนด์ (Branding) เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ว่าจะธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็จำเป็นจะต้องทำ เพราะนอกจากจะสร้างแตกต่างให้กับสินค้าหรือบริการของแบรนด์กับคู่แข่งอื่น ๆ ในตลาดแล้ว ยังช่วยให้แบรนด์มีตัวตนชัดเจน เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ และมีประโยชน์ในแง่อื่น ๆ ดังนี้

เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์

แบรนด์ที่มีตัวตนและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้าหรือบริการ รวมถึงมั่นใจได้ว่า หากเกิดปัญหาขึ้นกับสินค้า จะได้รับความช่วยเหลือหรือการดูแลจากแบรนด์อย่างแน่นอน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ก็เป็นเหตุผลว่า ทำไมผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงยอมจ่ายเงินแพงกว่าในการซื้อสินค้าที่มีแบรนด์ 

ทำการตลาดง่ายขึ้น

เมื่อแบรนด์เป็นที่รู้จักและมีการสื่อสารตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ก็ย่อมมีกลุ่มผู้บริโภคที่ผันตัวมาเป็นลูกค้าประจำ ทำให้แบรนด์มีฐานลูกค้าที่มั่นคง และสามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น เพราะแบรนด์จะสามารถคาดการณ์แนวโน้มของยอดขายในแต่ละไตรมาสได้ นอกจากนี้เมื่อมีการปล่อยสินค้าใหม่ออกมา ก็ไม่จำเป็นจะต้องมาอธิบายตัวตนของสินค้า แล้วปล่อยให้พลังของแบรนด์ทำงานในการขายตัวเองไป ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพทางการตลาดได้มากขึ้น 

เพิ่มการจดจำ

การจดจำ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการทำการตลาดปัจจุบัน เพราะหากสินค้าหรือบริการของคุณไม่มีแบรนด์จนไม่ได้รับการจดจำ ก็จะทำให้สินค้าหรือบริการนั้น ๆ ไม่มีตัวตนในตลาด ซึ่งคุณอาจจะได้ลูกค้าแต่ไม่สามารถสร้างการซื้อซ้ำ หรือการบอกต่อได้เลย เพราะลูกค้าไม่สามารถจดจำคุณได้ ดังนั้น การสร้างแบรนด์จึงช่วยเพิ่มการจดจำ และสามารถสร้างความสัมพันธ์ของคุณกับกลุ่มลูกค้าได้ทันที

10 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง

เมื่อได้ทราบประโยชน์ของการสร้างแบรนด์ไปแล้ว ก็ได้เวลาของข้อมูลสำคัญที่ NeuMerlin Group รวบรวมมาแบ่งปันกันในความนี้ นั่นก็คือ 10 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งฉบับเข้าใจง่าย ไม่ว่าจะคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจมือใหม่ หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ก็สามารถทำตามได้ไม่ยาก จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1. ศึกษาคู่แข่ง

ก่อนที่จะวางแผนเรื่องทิศทางการนำเสนอของแบรนด์ ควรจะต้องศึกษาทิศทางของคู่แข่งที่ขายสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกันให้ดีเสียก่อน เพื่อให้คุณสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจุดแข็งและจุดอ่อนของแบรนด์คู่แข่งมาใช้ในการทำการตลาดได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณทราบด้วยว่า มีสิ่งใดที่ควรทำให้เหมือนหรือแตกต่าง แล้วนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการคิดกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ให้โดดเด่นกว่าคู่แข่ง

ศึกษาคู่แข่ง


2. ออกแบบบุคลิกภาพของแบรนด์ให้โดดเด่น (Brand Personality)

การออกแบบบุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality) ที่ดี จะต้องมีการเชื่อมโยงจุดเด่นของสินค้าหรือบริการ เข้ากับพันธกิจหรือสิ่งที่แบรนด์อยากนำเสนอ โดยจะต้องคำนึงว่า บุคลิกภาพที่นำเสนอออกไปจะทำให้กลุ่มลูกค้าของเรารู้สึกหรือตอบสนองกับแบรนด์อย่างไร แล้วต้องอย่างไรให้กลุ่มลูกค้าเปิดใจให้กับแบรนด์ของเราได้

3. ออกแบบอัตลักษณ์ของแบรนด์ให้ชัดเจน (Brand Identity)

เมื่อออกแบบบุคลิกภาพของแบรนด์เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องเข้าสู่ขั้นตอนของการสร้างอัตลักษณ์แบรนด์ เพื่อนำเสนอบุคลิกภาพเหล่านั้นออกมาให้เป็นรูปเป็นร่าง โดยจะต้องมีการสร้าง Brand Design เพื่อให้คนจดจำแบรนด์ของคุณได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโลโก้ สี รูปแบบตัวอักษร Visual Identity หรือแม้แต่ Tone of Voice 

ซึ่งองค์ประกอบของอัตลักษณ์แบรนด์เหล่านี้ จะนำไปใช้ในการถ่ายทอดแบรนด์ผ่านสิ่งอื่น ๆ เช่น Tone of Voice ของบอตหรือแอดมินที่ใช้ตอบโต้กับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์, สี และ Visual Identity ที่ใช้ในคอนเทนต์ที่นำเสนอบนช่องทางต่าง ๆ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ เป็นต้น

4. โลโก้แบรนด์ต้องเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร

โลโก้เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของแบรนด์ ควรออกแบบให้มีเอกลักษณ์ จดจำง่าย และสื่อถึงบุคลิกของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน เลือกใช้สีและรูปทรงที่สอดคล้องกับค่านิยมและภาพลักษณ์ที่คุณต้องการนำเสนอ โลโก้ที่ดีควรสามารถใช้ได้ในหลากหลายสื่อและขนาด ตั้งแต่นามบัตรไปจนถึงป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ อย่าลืมว่าโลโก้ที่ดีควรทนต่อกาลเวลาและไม่ล้าสมัยง่าย

5. สื่อสารเพื่อเชื่อมต่อกับผู้บริโภคโดยใช้ Brand Marketing

เมื่อออกแบบ Branding Design และพัฒนาแบรนด์ตามขั้นตอนที่จำเป็นทั้งหมดแล้ว อันดับต่อไปก็ต้องเตรียมความพร้อมในการเชื่อมต่อแบรนด์เข้ากับผู้บริโภคผ่านการสื่อสารบนช่องทางต่าง ๆ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องมีการวิเคราะห์ผู้บริโภคจากเพศ วัย และพฤติกรรมการใช้งาน ก่อนตัดสินใจว่าจะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางใดจึงจะเหมาะสม

นอกจากนี้ยังต้องมีการกำหนด Brand Idea หรือที่เรียกว่า Brand Concept ให้ดีเสียก่อน โดยจะต้องมีการกำหนด Action ที่ทำหน้าที่เป็น Main Concept ของ Brand Content โดยรวม ให้มีลักษณะสั้น คม กระชับ มีพลัง และต้องมีความเป็น Big Idea ที่สามารถต่อยอดให้แบรนด์สร้าง Storytelling ต่อไปได้อย่างยั่งยืน

6. กำหนด Brand Positioning ให้ชัดเจน

การวางตำแหน่งแบรนด์ (Brand Positioning) เป็นการกำหนดจุดยืนของแบรนด์ในตลาดและในใจผู้บริโภค ต้องระบุให้ชัดเจนว่าแบรนด์ของคุณแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร และมีคุณค่าอะไรที่โดดเด่น วิเคราะห์จุดแข็งของแบรนด์และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างข้อเสนอที่มีเอกลักษณ์และตรงใจผู้บริโภค การวางตำแหน่งที่ชัดเจนจะช่วยให้การสื่อสารการตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น

7. สร้างสรรค์สโลแกนให้ติดหู

สโลแกนที่ดีควรสั้น กระชับ และสื่อถึงคุณค่าหลักของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน การคิดสโลแกนที่ติดหูและจดจำง่ายจะช่วยเสริมสร้างการรับรู้แบรนด์ในใจผู้บริโภค ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ พยายามสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงระหว่างสโลแกนกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณ เพื่อให้ผู้บริโภคนึกถึงแบรนด์ของคุณทันทีเมื่อได้ยินสโลแกน

8. สร้างสรรค์คอนเทนต์เพื่อแบ่งปันเรื่องราวของแบรนด์

การเล่าเรื่องราวของแบรนด์ผ่านคอนเทนต์ที่น่าสนใจเป็นวิธีที่ทรงพลังในการสร้างความผูกพันกับกลุ่มเป้าหมาย ใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น บล็อก โซเชียลมีเดีย หรือวิดีโอ เพื่อแบ่งปันเรื่องราวความเป็นมา วิสัยทัศน์ และค่านิยมของแบรนด์ นำเสนอคอนเทนต์ที่มีคุณค่าและตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและความภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาว

9. หมั่นอัปเดตเทรนด์ใหม่ ๆ และตามเทรนด์ให้ทัน

ในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การติดตามเทรนด์และการปรับตัวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ พร้อมปรับกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้ทันสมัย แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เสียเอกลักษณ์ของแบรนด์ การรักษาสมดุลระหว่างความทันสมัยและความคงเส้นคงวาจะช่วยให้แบรนด์ของคุณเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

10. ตรวจสอบและวัดผลอย่างสม่ำเสมอ

ขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้แบรนด์ของคุณเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นั่นก็คือ การหมั่นตรวจสอบและวัดผลอย่างสม่ำเสมอผ่านเครื่องมือวัดผลต่าง ๆ เช่น Meta Business Suite, Google Analytics หรือการจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริโภค เป็นต้น เพื่อให้คุณได้ข้อมูลไปใช้ในการหาแนวทางปรับปรุงและพัฒนาแบรนด์ให้มีความพร้อมต่อการรับมือกับสถานการณ์หรือกระแสนิยมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ 

สรุปบทความ

การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง และมีตัวตนที่ชัดเจนในตลาด เป็นหนทางที่จะทำให้แบรนด์ของคุณสามารถประสบความสำเร็จและได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภคได้ แต่แน่นอนว่าการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ย่อมมีอุปสรรคที่ต้องพบเจอระหว่างทาง หรือบางคนก็อาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไร จนทำให้รู้สึกท้อ และถอดใจไปในที่สุด ดังนั้น การหาตัวช่วยในการสร้างแบรนด์ที่มีความเชี่ยวชาญก็จะช่วยให้คุณคลายภาระในส่วนนี้ไปได้ 

โดยที่ NeuMerlin Group เป็น Multi-Boutiques Marketing Agency Platform ที่ประกอบไปด้วยเครือข่ายบริษัทที่ให้บริการโซลูชั่นการตลาดที่หลากหลาย เราพร้อมดูแลคุณในทุกขั้นตอนการสร้างแบรนด์ เช่น การออกแบบอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) การออกแบบเว็บไซต์ และการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสาร การทำหนังโฆษณา การทำแคมเปญการตลาด เป็นต้น ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่า คุณจะสามารถสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีตัวตนที่ชัดเจน และเป็นเอกลักษณ์ได้อย่างแน่นอน

Writer
NMG Team

เราคือ Marketing Agency ที่มีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเพื่อการมีส่วนร่วมในเอเชียแปซิฟิก พร้อมทีมงานมืออาชีพ

As a creative agency, we believe in the power of imagination and innovation. We are constantly pushing the boundaries of what is possible, and strive to create work that is not only beautiful and effective, but also meaningful and impactful.

LET'S START A PROJECT

contact@neumerlin.com
By using this website, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. View our Privacy Policy for more information.