WHAT’S NEXT : จับตาบริษัทใหญ่ ปรับอย่างไรเพื่อไปต่อปี 2021

เป็นที่รู้กันว่า ถ้าอยากให้ธุรกิจอยู่เหนือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เราต้องปรับตัวอยู่เสมอ วันนี้บริษัทใหญ่ปรับตัวกันอย่างไร อะไรคือแนวทางที่ธุรกิจต่างๆ ติดตามได้ที่นี่

เป็นที่รู้กันในหมู่นักธุรกิจนักการตลาดว่า ถ้าอยากให้ธุรกิจอยู่เหนือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ต้องปรับตัวอยู่เสมอ โดยการเรียนรู้ผู้บริโภค เพื่อจะได้จัดกระบวนท่าทางการตลาดให้สอดคล้อง ยิ่งไปกว่านั้นต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ไม่ติดกรอบหรือวนเวียนอยู่กับสิ่งเดิมๆ แนวคิดเดิมๆ

หลักการนี้เป็นสิ่งสากล ถึงวิถีของโลกจะเปลี่ยนไปแต่หลักการยังคงอยู่ และไม่ใช่แค่บริษัทเล็กๆ แต่ยักษ์ใหญ่ทั่วโลกก็ต่างยึดถือ แล้ววันนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ปรับตัวกันอย่างไร อะไรคือแนวทางที่ธุรกิจต่างๆ บนโลกต้องเรียนรู้บ้าง ติดตามได้ที่นี่

01 New Growth Engine

การปรับตัวขององค์กรธุรกิจแบบพลิกขั้ว คือทำอย่างไรจะขับเคลื่อนแผนธุรกิจปีหน้าและปีต่อๆ ไป ใช้ทรัพยากรเพียงแค่ 50% ของสิ่งที่มีอยู่เพื่อหล่อเลี้ยงการคงอยู่ของฐานธุรกิจเดิม ในขณะที่วาระสำคัญขององค์กร คือการ Shift ทรัพยากรที่มี ทั้งในเรื่องของคนและงบประมาณไปกับการสร้างฐานธุรกิจใหม่ที่จะเป็นอนาคต เพื่อสอดคล้องกับทิศทางการแข่งขันที่กำลังจะเปลี่ยนไป

M&A, Intrapreneur spin-off, Restructuring  เป็นสิ่งที่องค์กรขนาดใหญ่ นำมาใช้เป็นกลยุทธ์สำคัญเพื่อขับเคลื่อน New Growth Engine การทำ M&A เพื่อซื้อและควบรวมกิจการอยู่ในอัตราเร่งตั้งแต่เริ่มไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นแนวโน้มเดียวกันทั่วโลก กลุ่ม Retail ดั้งเดิมเข้าซื้อกิจการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ E-commerce และ Logistics  ส่วนกลุ่มธนาคารและอุตสาหกรรมหลัก เช่น Energy, Manufacturing, Healthcare พุ่งเป้าการลงทุนไปที่ธุรกิจ SaaS เพื่อนำ Digital Technology มาหลอมรวมกับ Business Portfolio เดิมเพื่อทำให้เกิดธุรกิจและแหล่งรายได้ใหม่  การสร้าง Intrapreneur หรือผู้ประกอบการในองค์กรก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่องค์กรใช้ในการสนับสนุน Talents และลดความเสี่ยงด้วยการทดลองสร้างธุรกิจใหม่ภายใต้ชายคาของธุรกิจเดิม  ส่วน Restructuring ก็ถือว่าเป็นแกนหลักในการวางแผนอนาคตโดยคำถามเชิงกลยุทธ์ที่ผู้บริหารองค์กรกำลังหาคำตอบก็คือ

ภายใต้ความปกติใหม่ของเศรษฐกิจโลก 1) อะไรจะเป็น End Game ของโมเดลธุรกิจองค์กร  2) จะวางเป้าหมาย ของ Business Portfolio ใหม่และ Resources Allocation อย่างไรให้ Deliver short-term และ Manage long-term ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  3) การตัดสินใจที่จะ Invest หรือ Divest อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับคำถามที่ 1 และ 2

02 Data-driven Culture

การนำพาองค์กรไปสู่การตัดสินใจบนพื้นฐานที่มีความเป็น “Scientific” มากกว่าการตัดสินใจแบบเดิม กำลังเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ กลุ่มบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ FAMGA – Facebook, Amazon, Microsoft, Google, Apple เพิ่มตำแหน่งงานของพนักงานในสายงานด้าน Data บริษัทละไม่ต่ำกว่า 1,000 ตำแหน่งต่อปี อีกทั้งเข้าลงทุนใน Data Science Startup ที่โดดเด่นอีกหลายบริษัท เช่น Dataiku และ Data Robot ทำให้สตาร์ทอัพกลุ่มนี้กลายเป็นยูนิคอร์นตัวใหม่ที่น่าจับตามอง บริษัทวิจัยชั้นนำคาดการณ์ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า กว่า 20% ของตำแหน่งงานภายในองค์กรขนาดใหญ่จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ Data และ Data Science จะกลายเป็นหน่วยงานที่มีอิทธิพลในการขับเคลื่อนการตัดสินใจเชิงนโยบาย

หัวใจสำคัญของการสร้างวิสัยทัศน์แบบ Data Driven องค์กรต้องมีการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่เป็น Real-Time เพื่อสร้าง Model การใช้ข้อมูลใหม่ๆ แบบ Dynamic  มีการวิเคราะห์และวิจัยสิ่งใหม่โดยใช้ข้อมูลเป็นตัวแปรสำคัญ นอกเหนือจากประเด็นเรื่อง Technical แล้ว การสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ก็เป็นเรื่องสำคัญ แนวทางการทำงานต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานแบบ Data Talk/ Data Decide โจทย์สำคัญคือต้องไม่ทำให้ทีมงาน Data Scientists ทำงานแบบโดดเดี่ยว หลายองค์กรนำเอาทีมงาน Data Scientists เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Business Unit เพื่อให้การทำงานสอดคล้องกัน วาระสำคัญที่ผู้บริหารองค์กรต้องทำควบคู่ไปกับการผลักดันให้เกิดการทำงานแบบ Data First คือการให้ความรู้กับคนในองค์กรเรื่องความสำคัญของข้อมูลและการใช้ Metrics ที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึง เข้าใจและมีส่วนร่วมได้โดยสามารถเชื่อมโยงกับขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน

03 Chief Growth Officer

องค์กรระดับโลกหลายองค์กรมีการปรับโครงสร้างและแต่งตั้ง CGO เข้ามาเป็นเสมือนมือขวาของ CEO ในการ Transform ธุรกิจ ความรับผิดชอบของ CGO มีบทบาทในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนจึงจำเป็นต้องนำเอากลไกใหม่เข้ามาใช้ การเกิดขึ้นของ Chief Growth Office ได้กลายเป็นคำตอบให้กับหลายองค์กรโดยมีบทบาทและกรอบความความรับผิดชอบหลักคือ 1) รับผิดชอบด้าน Transformative Growth การสร้างการเติบโตจากธุรกิจใหม่ หรือ New Product/ Service Portfolio  2) มีความรับผิดชอบ (Functional Authority) กับหน่วยงานหลักในองค์กร เช่น Marketing & Sales, Technology, R&D, และ Corporate Strategy  3) สนับสนุนงานของ CEO ในการปรับเปลี่ยนและจัดทัพใหม่ในเรื่องการใช้ทรัพยากรขององค์กร เพื่อลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพ รองรับการเติบโตในอนาคตและเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการเติบโตแบบ Transformative Growth  4) วางแผนและตัดสินใจลงทุนในธุรกิจที่เป็น Disruptive Innovation การขยับตัวขององค์กรขนาดใหญ่ในการปรับโครงสร้างเพื่อวางรากฐานอนาคตใหม่ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่ายักษ์ที่กำลังถูก Disrupt กำลังมี Learning Curve ของการปรับตัวอย่างรวดเร็ว การพลิกเกมธุรกิจโดยการจัดกระบวนทัพใหม่สู่การ Transform อย่างเต็มรูปแบบ น่าจะเป็นจุดหักเหที่แยกผู้นำเกมธุรกิจออกจากผู้ตามอย่างชัดเจน

Writer
NMG Team

เราคือ Marketing Agency ที่มีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเพื่อการมีส่วนร่วมในเอเชียแปซิฟิก พร้อมทีมงานมืออาชีพ

As a creative agency, we believe in the power of imagination and innovation. We are constantly pushing the boundaries of what is possible, and strive to create work that is not only beautiful and effective, but also meaningful and impactful.

เริ่มโปรเจคร่วมกัน

contact@neumerlin.com
การใช้เว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณตกลงที่จะจัดเก็บคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณเพื่อปรับปรุง และ วิเคราะห์การใช้งานของเว็บไซต์ ดู นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติม Privacy Policy