KOL คืออะไร? ทำความรู้จักความแตกต่างของ KOL vs Influencer

KOL หรือ Key Opinion Leader คือผู้นำทางความคิด หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ได้รับความนิยมจากการมีความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อแบรนด์นำ KOL มาใช้งานอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้มากขึ้นได้

สำหรับคนที่เล่นโซเชียลมีเดียเป็นประจำ คงจะคุ้นเคยกับคำว่า Influencer ดีอยู่แล้วและคงจะมีหลายคนที่ติดตามอินฟลูเอนเซอร์เหล่านั้นอยู่ แต่หากพูดถึงคำว่า KOL เชื่อว่าคงจะมีบางส่วนที่ยังไม่รู้จักคำนี้อย่างแน่นอน แล้วคำว่า Influencer กับ KOL เกี่ยวข้องกันอย่างไร? เหมือนหรือแตกต่างกันยังไง? แล้วต้องเลือกยังไงถึงจะส่งผลดีต่อแบรนด์ ในบทความนี้ NeuMerlin Group จะมาเล่าให้คุณฟังเอง ใครที่ทำงานสาย Marketing แล้วยังไม่รู้คำศัพท์ทั้ง 2 คำนี้ ต้องห้ามพลาด!

ทำความรู้จัก KOL และ Influencer คืออะไร?

หากจะพูดถึง “ผู้มีอิทธิพล” ในโลกการสื่อสารของยุคนี้ก็คงไม่พ้น “Influencer” และ “KOL” ซึ่งผู้มีอิทธิพลทั้ง 2 ประเภทนี้ จะมีพลังในการสร้างการรับรู้บางอย่างให้กับผู้คน ซึ่งแบรนด์ก็มักจะใช้อิทธิพลและพลังดังกล่าวในการสื่อสารบางอย่างออกไปผ่านพวกเขา 

KOL คืออะไร?

KOL หรือ Key Opinion Leader คือ ผู้นำทางความคิด หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง และได้รับความนิยมจากการมีความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น แพทย์ นักวิชาการ นักเทรดหุ้น เป็นต้น โดยมีช่องทางบนโซเชียลมีเดีย และมีผู้ติดตามมาช่วยโปรโมตรีวิวสินค้าเพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ความเชี่ยวชาญของ KOL ที่แบรนด์เลือกใช้ ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้อีกด้วย

Influencer คืออะไร?

Influencer คือผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, TikTok, Twitter (X) หรือ YouTuber โดยบุคคลเหล่านี้จะมีพลังในการสร้างการรับรู้ และสามารถโน้มน้าวให้คนสนใจซื้อสินค้าหรือบริการ ผ่านการนำเสนอคอนเทนต์ในรูปแบบต่าง ๆ

KOL กับ Influencer ต่างกันอย่างไร?

ทั้ง KOL และ Influencer เป็นผู้ที่มีอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ด้วยกันทั้งคู่ แต่ความแตกต่างของผู้มีอิทธิพลทั้ง 2 ประเภทคือ “การนำเสนอ” โดย KOL จะนำเสนอโดยเน้นการให้ความรู้ในเรื่องที่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตนเอง หรืออธิบายสรรพคุณและประโยชน์ต่าง ๆ ของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เพื่อให้ผู้ติดตามได้ข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจซื้อ

ส่วน Influencer จะนำเสนอโดยเน้นการให้ความคิดเห็น การแนะนำ หรือการรีวิวสินค้า เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ติดตามตัดสินใจซื้อสินค้า

ข้อดีของการทำ KOL Marketing

  1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า เนื่องจากกลุ่มผู้ติดตามส่วนใหญ่ของ KOL จะมีความชื่นชอบหรือสนใจในเรื่องเดียวกัน ทำให้การโปรโมตสินค้าสามารถเข้าถึงได้มากกว่าและตรงจุด
  2. ช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย เพราะ KOL เป็นบุคคลที่สามารถบอกต่อสรรพคุณของสินค้าหรือบริการได้อย่างน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้ที่ติดตามเกิดความเชื่อมั่นในสินค้าหรือบริการ จนเกิดการสั่งซื้อในที่สุด
  3. สร้างความแตกต่างจากแบรนด์คู่แข่ง ด้วยความที่ KOL เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำให้สิ่งที่ KOL นำเสนอออกมานั้นมีความจริงใจ และความน่าเชื่อถือมากกว่า ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจดจำแบรนด์และทำให้แบรนด์แตกต่างจากคู่แข่ง

เลือก KOL อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

การเลือก KOL ไม่ใช่ว่าจะเลือกใครก็ได้ แต่จะต้องมีขั้นตอนในการคัดเลือกและพิจารณา KOL ที่เหมาะสมกับแบรนด์ให้ดีเสียก่อน โดยมีขั้นตอนดังนี้

ทำความเข้าใจตลาด

สิ่งแรกที่ต้องทำการเลือกว่าจะใช้ KOL คนไหนดี จะต้องมีการทำความเข้าใจตลาด และวางแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่จะใช้ให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยจะต้องดูว่า กลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการเป็นใคร คู่แข่งในตลาดเป็นอย่างไร ผู้บริโภคพูดถึงแบรนด์อย่างไร คอนเทนต์รูปแบบใดที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ เป้าหมายของการโปรโมคในครั้งนี้คืออะไร แล้วในอุตสาหกรรมนี้มีใครเป็น KOL ที่โดดเด่นบ้าง 

โดยข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนกลยุทธ์ที่รอบคอบ และสามารถนำมาใช้ในการพิจารณาเพื่อเลือก KOL ที่เหมาะสมกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ วัตถุประสงค์ของแคมเปญ และกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

ค้นหา KOL ที่โดดเด่นในอุตสาหกรรม และเหมาะสมกับแบรนด์

โดยใช้ Social Listening Tool เพื่อค้นหาว่า KOL คนนั้นมีการพูดถึงหัวข้ออะไรบ้าง มีสถิติที่น่าสนใจมากพอที่จะเลือกมาใช้งานหรือไม่ เช่น มีการพูดถึงแบรนด์ของคุณในแง่บวกหรือไม่ มีการทำคอนเทนต์ที่พูดถึงสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์บ่อยเท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์สามารถเลือก KOL ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีภาพลักษณ์ที่ตรงกับความต้องการของแบรนด์ได้

KOL ต้องตอบโจทย์แผนกลยุทธ์ที่ใช้

นอกจากข้อมูลทางสถิติที่ต้องใช้ในการพิจารณาและคัดเลือกแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ จะต้องพิจารณาว่า KOL ที่เลือกสามารถทำงานตามความต้องการของแบรนด์ได้หรือไม่ ทั้งการเลือกแพลตฟอร์มที่ใช้ รูปแบบคอนเทนต์ที่ต้องการ ไปจนถึงวัน-เวลาในการเผยแพร่ เพื่อให้สามารถทำแคมเปญออกมาได้สมบูรณ์แบบตามระยะเวลาที่กำหนด และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้

วิธีหา KOL ด้วยเครื่องมือ Social Listening Analytics

Social Listening Analytics เป็นเครื่องมือที่ช่วยรวบรวมข้อมูลจากโซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์ม เช่น Facebook, Instagram, Twitter, TikTok, YouTube เป็นต้น เพื่อให้นักการตลาดสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการวิเคราะห์และค้นหา KOL ที่เหมาะสมกับธุรกิจ รวมถึงกลยุทธ์การตลาดของแบรนด์มากที่สุด

ส่วน Mandala Analytics อีกหนึ่ง Social Listening Tools ที่จะรวบรวมความคิดเห็นของผู้บริโภคบนโซเชียลมีเดีย ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของคุณและของคู่แข่ง เพื่อให้คุณสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์ และสามารถกำหนดแคมเปญทางการตลาด รวมถึงเลือก KOL ที่เหมาะสม และตรงกับกลุ่มลูกค้าของคุณได้มากที่สุด

วิธีใช้ KOL ในการทำการตลาด

KOL เป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่สามารถสร้างผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้อย่างมาก การร่วมมือกับ KOL จึงเป็นกลยุทธ์ที่แบรนด์ต่าง ๆ นิยมใช้เพื่อเพิ่มการรับรู้และยอดขาย โดยมีวิธีที่สามารถใช้ KOL ในการทำการตลาดได้มีดังนี้

วิธีใช้ KOL ในการทำการตลาด

การโฆษณา (Advertisement)

การใช้ KOL ในการโฆษณาเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นบนแพลตฟอร์มออนไลน์หรือออฟไลน์ KOL จะนำเสนอสินค้าหรือบริการของแบรนด์ผ่านช่องทางของตนเอง ซึ่งอาจเป็นโซเชียลมีเดีย บล็อก หรือช่อง YouTube โดยใช้ความเชี่ยวชาญและความน่าเชื่อถือของตนเองในการดึงดูดความสนใจของผู้ติดตาม ตัวอย่างเช่น แบรนด์อาหารอาจร่วมมือกับ KOL ด้านอาหารที่มีชื่อเสียงเพื่อโปรโมทผลิตภัณฑ์ใหม่ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจและอยากทดลองชิม

รีวิวสินค้าหรือบริการ

การให้ KOL รีวิวสินค้าหรือบริการเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ KOL จะทดลองใช้สินค้าจริงและแบ่งปันประสบการณ์กับผู้ติดตาม โดยนำเสนอทั้งข้อดีและข้อควรปรับปรุง ซึ่งความจริงใจนี้จะช่วยสร้างความไว้วางใจจากผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น KOL ด้านความงามอาจรีวิวเครื่องสำอางใหม่ โดยทดลองใช้และแสดงผลลัพธ์ให้ผู้ติดตามเห็น ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจการใช้งานและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้น

มีการเมนชั่นถึงแบรนด์

การเมนชั่นถึงแบรนด์โดย KOL เป็นวิธีที่แยบยลในการสร้างการรับรู้ KOL อาจกล่าวถึงแบรนด์ในเนื้อหาที่สร้างสรรค์ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นการโฆษณาโดยตรง เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันและเมนชั่นถึงแบรนด์อย่างเป็นธรรมชาติ วิธีนี้ช่วยให้ผู้ติดตามรู้สึกว่าการแนะนำนั้นจริงใจและไม่เป็นการยัดเยียดโฆษณา ทำให้เกิดความสนใจในแบรนด์อย่างแท้จริง

กิจกรรมหรืออีเวนต์แบบ Offline

การเชิญ KOL เข้าร่วมกิจกรรมหรืออีเวนต์แบบ Offline เป็นอีกวิธีที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ การประชุม หรือนิทรรศการ การมี KOL ร่วมงานจะช่วยดึงดูดความสนใจและสร้างกระแสให้กับกิจกรรมนั้น ๆ นอกจากนี้ KOL ยังมักจะแชร์ประสบการณ์จากงานผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของตน ทำให้แบรนด์ได้รับการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างมากขึ้น

FAQ

1. KOL คือตําแหน่งอะไร

KOL ย่อมาจาก Key Opinion Leader หมายถึงบุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดในวงการหรือสาขาใดสาขาหนึ่ง พวกเขามักเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ลึกซึ้งและมีผู้ติดตามจำนวนมาก KOL สามารถเป็นได้ทั้งนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม บล็อกเกอร์ หรือผู้มีอิทธิพลในโซเชียลมีเดีย บทบาทหลักของ KOL คือการให้ข้อมูล ความคิดเห็น และคำแนะนำที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค

2. KOL กับ KOC ต่างกันยังไง

แม้ว่า KOL (Key Opinion Leader) และ KOC (Key Opinion Consumer) จะมีบทบาทในการสร้างอิทธิพลต่อผู้บริโภค แต่ก็มีความแตกต่างที่สำคัญ KOL มักเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะทางและมีผู้ติดตามจำนวนมาก พวกเขานำเสนอมุมมองที่กว้างและลึกซึ้งเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ ในขณะที่ KOC เป็นผู้บริโภคทั่วไปที่แบ่งปันประสบการณ์การใช้งานจริง KOC มักจะนำเสนอมุมมองที่เป็นกันเองและใกล้ชิดกับผู้บริโภคทั่วไปมากกว่า

3. อินฟลูเอนเซอร์ ทําอะไรบ้าง

อินฟลูเอนเซอร์มีบทบาทหลากหลายในโลกการตลาดดิจิทัล พวกเขาสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้ติดตาม ไม่ว่าจะเป็นการรีวิวสินค้า แบ่งปันเคล็ดลับ หรือนำเสนอไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้ อินฟลูเอนเซอร์ยังทำงานร่วมกับแบรนด์ในการโปรโมทผลิตภัณฑ์หรือบริการ เข้าร่วมแคมเปญการตลาด และสร้างเนื้อหาที่สนับสนุนภาพลักษณ์ของแบรนด์ บางคนยังจัดกิจกรรมหรือเวิร์คช็อปเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดตามโดยตรง

สรุปบทความ

KOL Marketing ถือเป็นรูปแบบการทำการตลาดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์ แต่ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดูน่าเชื่อถือให้กับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ได้อีกด้วย สำหรับแบรนด์ที่สนใจการทำ KOL Marketing แต่ยังจับทางไม่ถูก NeuMerlin Group ก็พร้อมให้ความช่วยคุณในเรื่องนี้

เพราะภายใต้ NeuMerlin Group เรามีอีกเครือข่ายบริษัทที่พร้อมให้บริการด้านการตลาด โดยมี VIRT เป็นบริษัทที่ดูแลเรื่อง KOL โดยเฉพาะ ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่า KOL ที่เราคัดสรรมาให้คุณ จะสามารถสร้างผลประโยชน์กลับมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Aggregator
NMG Team

เราคือ Marketing Agency ที่มีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเพื่อการมีส่วนร่วมในเอเชียแปซิฟิก พร้อมทีมงานมืออาชีพ

As a creative agency, we believe in the power of imagination and innovation. We are constantly pushing the boundaries of what is possible, and strive to create work that is not only beautiful and effective, but also meaningful and impactful.

เริ่มโปรเจคร่วมกัน

contact@neumerlin.com
การใช้เว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณตกลงที่จะจัดเก็บคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณเพื่อปรับปรุง และ วิเคราะห์การใช้งานของเว็บไซต์ ดู นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติม Privacy Policy