2020 Big Reset: ผู้นำธุรกิจก้าวสู่ New Normal ด้วยการเตรียมพร้อมและก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลง เป้าหมายให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรืองในยามที่ท้าทาย
Intro
แวดวงธุรกิจในช่วงนี้นอกเหนือจากการเตรียมพร้อมสำหรับการ Restart และรับมือกับ The Next Normal แล้ว ผู้นำองค์กรใหญ่หลายองค์กรกำลังระดมสมองเพื่อเตรียม Reset แผนกลยุทธองค์กรทั้งระยะสั้น-กลาง-ยาว เพราะสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับการทำธุรกิจได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิงจากสถานการณ์วิกฤติ Covid-19 แต่ความท้าทายว่าจะ Restart อย่างไรให้ธุรกิจเดินหน้าท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง คงไม่ท้าทายเท่าการตัดสินใจว่า จะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเพื่อให้ธุรกิจจะอยู่ได้และสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปให้ได้
การ Reset หลังจาก Restart จะแตกต่างกันไปตามบริบทขององค์กร ขึ้นอยู่กับสภาวะทางธุรกิจและปัจจัยขับเคลื่อนของแต่ละอุตสาหกรรม ข้อมูลที่สรุปโดย Bain & Company จากการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารองค์กรธุรกิจในประเทศจีนเกือบ 100 บริษัท ที่กำลังทยอย Restart นั้นล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ จะเดินหน้าอย่างไรเพื่อความอยู่รอดและเติบโต แต่ปัจจัยเร่งด่วนค่อนข้างแตกต่างกันตามอุตสาหกรรม
อะไรบ้างที่ได้ถูก Reset ไป?
1. FMCG
สำหรับอุตสาหกรรมที่ค่อนข้าง Mass เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค Consumer Products สิ่งที่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจกลุ่มนี้มองเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก คือการปรับแผนกลยุทธ์ Go-to-market นั่นคือการ Redesign ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า การให้บริการ และการบริหารจัดการในเชิงพาณิชย์ สำหรับคนที่อยู่ในวงการนี้คงพอจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าธุรกิจ Consumer Products กำลังถูก Disrupt ก่อนเวลาอันควรและไม่มีวันที่จะกลับไปเหมือนเดิม สิ่งที่เรียกว่า "Customer Journey" หรือ "Path to Purchase" ได้ถูกเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ E-commerce และ Social Commerce จะถูกขับเคลื่อนด้วยสเกลที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
2. Healthcare
หลังจาก Covid-19 กฎและเงื่อนไขต่าง ๆ ของภาครัฐที่เคยบีบคั้นทำให้อุตสาหกรรมใหญ่อย่าง Healthcare ขยับเขยื้อนเปลี่ยนแปลงได้ ยากจะถูกผ่อนคลายลงเพราะความจำเป็นเร่งด่วนคือการทำให้การบริการทางการแพทย์และการเข้าถึงยาทำได้ทั่วถึงและสะดวกยิ่งขึ้น ผู้บริหารองค์กรที่อยู่ในกลุ่ม Healthcare มองเรื่องการ Redesign Go-to-market strategy เป็นวาระเร่งด่วน ความล่าช้าหมายถึงความเสี่ยงที่จะตอบสนองความต้องการของตลาดและความสามารถในการแข่งขัน มีการคาดเดาว่าการขออนุญาติให้บริการ Telehealth และ E-Prescription จะทำได้ง่ายขึ้นในทุกประเทศ สิ่งที่จะตามมาก็คือการเร่งสปีดของการเกิด Decentralized Healthcare Services ที่การบริการทางการแพทย์ สาธารณสุขและการเข้าถึงยา รวมถึงเวชภัณฑ์ จะกระจายตัวออกไปในวงกว้างทำให้มีผู้เล่นรายใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมเกิดขึ้นอีกมาก
3. Retail
วิกฤติครั้งนี้ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่แบบดั้งเดิมเกิดความหยุดชะงักแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนและการบริหารงานในสภาวะวิกฤติจำต้องแบกต้นทุนอยู่อย่างมหาศาล สำหรับค้าปลีกนอกเหนือจากเรื่องของการปรับกลยุทธเรื่องการบริหารจัดการ Supply Chain ให้คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังมีแนวโน้มสูงที่จะโฟกัสเรื่องการลดต้นทุนและยกเลิกการลงทุนใหญ่ๆ โดยการลงทุนที่จะเดินหน้าต่อจะเป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ทดแทนแรงงานโดยเน้นการ Reskill พนักงานในเรื่องของทักษะใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับเครื่องจักรและเทคโนโลยีให้ได้มากขึ้น (Human-Machine Collaboration)
4. Manufacturing
อุตสาหกรรมการผลิตเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่จะเกิดการ Transform ครั้งใหญ่ เพราะการหยุดชะงักของกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ Lockdown ทำให้ผู้บริหารต้องรีบปรับแผนเพื่อเร่งเครื่องเรื่องการลงทุนในระบบ Automation และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม่ว่าจะเป็น Robotics, Drones, IoT/Sensors หรือกระทั่ง 3D Printing และเช่นเดียวกันกับธุรกิจค้าปลีก ทักษะของพนักงานในการทำงานร่วมกับ Machines จะกลายเป็นทักษะที่จะถูกนำมาใช้และ Reskill พนักงาน
5. Financial Services & Technology
ถึงแม้จะเป็นธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะมี Infrastructure ที่สามารถรองรับสถานการณ์ Lockdown ได้ดีกว่าธุรกิจอื่น แต่ก็คงหนีไม่พ้นแรงกระเพื่อมทางเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้บริหารองค์กรต้องให้ความสำคัญกับ Cost Reduction และ Cost Competitiveness เพราะโลกหลัง Covid-19 จะกลายเป็นโลกที่ต้องแข่งขันกันบนต้นทุนที่ต่ำที่สุดเพื่อความอยู่รอด กำลังซื้อที่ลดลงจะทำให้ผู้คนให้ความสำคัญกับ Functional Benefits มากกว่าเรื่องอื่น ๆ
บทสรุป
ไม่เพียงแต่ธุรกิจเท่านั้นที่จะเกิดการ Reset พฤติกรรมของผู้บริโภคเองก็ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วเช่นกัน สำหรับคนเมือง ประสบการณ์
“Home is where everything is”
เมื่อบ้านได้กลายเป็นทุกสิ่งในชีวิตทั้งที่ทำงาน ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงหนัง และฟิตเนส พฤติกรรมการใช้ชีวิตหลัง Covid-19 จะทำให้ Customer Journey ในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยเรื่องของ “Fear Factor” จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทั้งความกังวลเรื่องของความปลอดภัยและปัจจัยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การลงทุนเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงในชีวิตจะเพิ่มมากขึ้น เช่น การซื้อประกัน การลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ การลงทุนเรื่องสุขภาพ และการลงทุนกับที่อยู่อาศัย ในขณะที่ Brand Loyalty กับสินค้าที่ตอบโจทย์เรื่องความปลอดภัยจะมีมากขึ้น ตรงข้ามกับสินค้าที่เคยตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ จะกลายเป็นสิ่งที่ถูกลดลำดับความสำคัญลงไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า แบรนด์เนม หรือกระทั่งวิถีการใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือยทั้งหลาย จะกลายเป็นสิ่งที่ “Out” และถูกมองว่าตกยุค
กระบวนการ Reset กำลังเริ่มขึ้นแล้ว และจะกลายเป็น The Next Normal ที่เป็นเสมือนบททดสอบว่าใครจะมีความสามารถมากพอในการฝ่าฟันวิกฤตินี้ไปได้ กับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีใครได้เตรียมตัวมาก่อน ทุกองค์กรยืนอยู่ที่จุดสตาร์ทที่เดียวกัน เกมการแข่งขันจากนี้ไปไม่ได้อยู่แค่ว่าใครจะก้าวกระโดดได้เร็วกว่า แต่อยู่ที่ใครจะปรับตัวกับแรงกระแทกและพร้อมจะเล่นเกมนี้ไปได้ยาวกว่ากัน!
เราคือ Marketing Agency ที่มีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเพื่อการมีส่วนร่วมในเอเชียแปซิฟิก พร้อมทีมงานมืออาชีพ