2020 Big Reset for the New Normal

2020 Big Reset: ผู้นำธุรกิจก้าวสู่ New Normal ด้วยการเตรียมพร้อมและก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลง เป้าหมายให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรืองในยามที่ท้าทาย

Intro

แวดวงธุรกิจในช่วงนี้นอกเหนือจากการเตรียมพร้อมสำหรับการ Restart และรับมือกับ The Next Normal แล้ว ผู้นำองค์กรใหญ่หลายองค์กรกำลังระดมสมองเพื่อเตรียม Reset แผนกลยุทธองค์กรทั้งระยะสั้น-กลาง-ยาว เพราะสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับการทำธุรกิจได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิงจากสถานการณ์วิกฤติ Covid-19 แต่ความท้าทายว่าจะ Restart อย่างไรให้ธุรกิจเดินหน้าท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง คงไม่ท้าทายเท่าการตัดสินใจว่า จะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเพื่อให้ธุรกิจจะอยู่ได้และสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปให้ได้

การ Reset หลังจาก Restart จะแตกต่างกันไปตามบริบทขององค์กร ขึ้นอยู่กับสภาวะทางธุรกิจและปัจจัยขับเคลื่อนของแต่ละอุตสาหกรรม ข้อมูลที่สรุปโดย Bain & Company จากการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารองค์กรธุรกิจในประเทศจีนเกือบ 100 บริษัท ที่กำลังทยอย Restart นั้นล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ จะเดินหน้าอย่างไรเพื่อความอยู่รอดและเติบโต แต่ปัจจัยเร่งด่วนค่อนข้างแตกต่างกันตามอุตสาหกรรม

อะไรบ้างที่ได้ถูก Reset ไป?

1. FMCG

สำหรับอุตสาหกรรมที่ค่อนข้าง Mass เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค Consumer Products สิ่งที่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจกลุ่มนี้มองเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก คือการปรับแผนกลยุทธ์ Go-to-market นั่นคือการ Redesign ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า การให้บริการ และการบริหารจัดการในเชิงพาณิชย์ สำหรับคนที่อยู่ในวงการนี้คงพอจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าธุรกิจ Consumer Products กำลังถูก Disrupt ก่อนเวลาอันควรและไม่มีวันที่จะกลับไปเหมือนเดิม สิ่งที่เรียกว่า "Customer Journey" หรือ "Path to Purchase" ได้ถูกเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ E-commerce และ Social Commerce จะถูกขับเคลื่อนด้วยสเกลที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

2. Healthcare

หลังจาก Covid-19 กฎและเงื่อนไขต่าง ๆ ของภาครัฐที่เคยบีบคั้นทำให้อุตสาหกรรมใหญ่อย่าง Healthcare ขยับเขยื้อนเปลี่ยนแปลงได้ ยากจะถูกผ่อนคลายลงเพราะความจำเป็นเร่งด่วนคือการทำให้การบริการทางการแพทย์และการเข้าถึงยาทำได้ทั่วถึงและสะดวกยิ่งขึ้น ผู้บริหารองค์กรที่อยู่ในกลุ่ม Healthcare มองเรื่องการ Redesign Go-to-market strategy เป็นวาระเร่งด่วน ความล่าช้าหมายถึงความเสี่ยงที่จะตอบสนองความต้องการของตลาดและความสามารถในการแข่งขัน มีการคาดเดาว่าการขออนุญาติให้บริการ Telehealth และ E-Prescription จะทำได้ง่ายขึ้นในทุกประเทศ สิ่งที่จะตามมาก็คือการเร่งสปีดของการเกิด Decentralized Healthcare Services ที่การบริการทางการแพทย์ สาธารณสุขและการเข้าถึงยา รวมถึงเวชภัณฑ์ จะกระจายตัวออกไปในวงกว้างทำให้มีผู้เล่นรายใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมเกิดขึ้นอีกมาก

3. Retail

วิกฤติครั้งนี้ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่แบบดั้งเดิมเกิดความหยุดชะงักแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนและการบริหารงานในสภาวะวิกฤติจำต้องแบกต้นทุนอยู่อย่างมหาศาล สำหรับค้าปลีกนอกเหนือจากเรื่องของการปรับกลยุทธเรื่องการบริหารจัดการ Supply Chain ให้คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังมีแนวโน้มสูงที่จะโฟกัสเรื่องการลดต้นทุนและยกเลิกการลงทุนใหญ่ๆ โดยการลงทุนที่จะเดินหน้าต่อจะเป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ทดแทนแรงงานโดยเน้นการ Reskill พนักงานในเรื่องของทักษะใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับเครื่องจักรและเทคโนโลยีให้ได้มากขึ้น (Human-Machine Collaboration)

4. Manufacturing

อุตสาหกรรมการผลิตเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่จะเกิดการ Transform ครั้งใหญ่ เพราะการหยุดชะงักของกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ Lockdown ทำให้ผู้บริหารต้องรีบปรับแผนเพื่อเร่งเครื่องเรื่องการลงทุนในระบบ Automation และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม่ว่าจะเป็น Robotics, Drones, IoT/Sensors หรือกระทั่ง 3D Printing และเช่นเดียวกันกับธุรกิจค้าปลีก ทักษะของพนักงานในการทำงานร่วมกับ Machines จะกลายเป็นทักษะที่จะถูกนำมาใช้และ Reskill พนักงาน

5. Financial Services & Technology

ถึงแม้จะเป็นธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะมี Infrastructure ที่สามารถรองรับสถานการณ์ Lockdown ได้ดีกว่าธุรกิจอื่น  แต่ก็คงหนีไม่พ้นแรงกระเพื่อมทางเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้บริหารองค์กรต้องให้ความสำคัญกับ Cost Reduction และ Cost Competitiveness เพราะโลกหลัง Covid-19 จะกลายเป็นโลกที่ต้องแข่งขันกันบนต้นทุนที่ต่ำที่สุดเพื่อความอยู่รอด กำลังซื้อที่ลดลงจะทำให้ผู้คนให้ความสำคัญกับ Functional Benefits มากกว่าเรื่องอื่น ๆ

บทสรุป

ไม่เพียงแต่ธุรกิจเท่านั้นที่จะเกิดการ Reset พฤติกรรมของผู้บริโภคเองก็ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วเช่นกัน สำหรับคนเมือง ประสบการณ์

“Home is where everything is”

เมื่อบ้านได้กลายเป็นทุกสิ่งในชีวิตทั้งที่ทำงาน ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงหนัง และฟิตเนส  พฤติกรรมการใช้ชีวิตหลัง Covid-19 จะทำให้ Customer Journey ในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยเรื่องของ “Fear Factor” จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทั้งความกังวลเรื่องของความปลอดภัยและปัจจัยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ  การลงทุนเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงในชีวิตจะเพิ่มมากขึ้น เช่น การซื้อประกัน การลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ การลงทุนเรื่องสุขภาพ และการลงทุนกับที่อยู่อาศัย ในขณะที่ Brand Loyalty กับสินค้าที่ตอบโจทย์เรื่องความปลอดภัยจะมีมากขึ้น ตรงข้ามกับสินค้าที่เคยตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ จะกลายเป็นสิ่งที่ถูกลดลำดับความสำคัญลงไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า แบรนด์เนม หรือกระทั่งวิถีการใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือยทั้งหลาย จะกลายเป็นสิ่งที่ “Out” และถูกมองว่าตกยุค  

กระบวนการ Reset กำลังเริ่มขึ้นแล้ว และจะกลายเป็น The Next Normal  ที่เป็นเสมือนบททดสอบว่าใครจะมีความสามารถมากพอในการฝ่าฟันวิกฤตินี้ไปได้  กับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีใครได้เตรียมตัวมาก่อน ทุกองค์กรยืนอยู่ที่จุดสตาร์ทที่เดียวกัน เกมการแข่งขันจากนี้ไปไม่ได้อยู่แค่ว่าใครจะก้าวกระโดดได้เร็วกว่า แต่อยู่ที่ใครจะปรับตัวกับแรงกระแทกและพร้อมจะเล่นเกมนี้ไปได้ยาวกว่ากัน!

Writer
NMG Team

เราคือ Marketing Agency ที่มีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเพื่อการมีส่วนร่วมในเอเชียแปซิฟิก พร้อมทีมงานมืออาชีพ

As a creative agency, we believe in the power of imagination and innovation. We are constantly pushing the boundaries of what is possible, and strive to create work that is not only beautiful and effective, but also meaningful and impactful.

เริ่มโปรเจคร่วมกัน

contact@neumerlin.com
การใช้เว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณตกลงที่จะจัดเก็บคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณเพื่อปรับปรุง และ วิเคราะห์การใช้งานของเว็บไซต์ ดู นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติม Privacy Policy