'Less is More' 'น้อยแต่มาก' ความ Minimal ที่คนรุ่นใหม่กำลังมองหานั้น แท้จริงแล้วคืออะไร มาจากไหน ต้องทำอย่างไร
สถาปนิก David Chipperfield กำลังชุบชีวิตอาคาร Neue Nationalgalerie (หอศิลป์แห่งชาติใหม่) ในกรุงเบอร์ลิน ให้มีชีวิตชีวาอีกครั้งในปี 2021 นี้ เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมใหม่ที่ออกแบบโดย Ludwig Mies van der Rohe
น้อยแต่มาก
ถ้าแปลกันตรงตัว Minimal คำนี้มีความหมายว่า น้อยที่สุด หรือ เล็กมากๆ หลายคน หลายที่มาก็อาจจะตีความหมายไปได้ในหลากหลายแบบ แต่คงจะไม่พ้น วลีที่ว่า ‘LESS IS MORE’ ของ Ludwig Mies van der Rohe สถาปนิกชาวเยอรมัน-อเมริกัน ที่ทำให้วงการออกแบบต่างหยิบเอามาเป็นต้นแบบในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าใครต่างก็นำเสนอมุมมองของ Minimal ให้เป็นหนึ่งในทางเลือก จนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งชีวิตประจำวันของคนในปัจจุบัน
Minimalism คือการคงไว้ซึ่งความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ยังมีประสิทธิภาพของการใช้งานสูงสุด หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ‘น้อยแต่มาก’
เก้าอี้บาร์เซโลนา (Barcelona chair) ลายเส้นสงบงาม แก่นแท้ของวัสดุตามแบบฉบับสถาปนิกชาวเยอรมัน ออกแบบโดย Ludwig Mies van der Rohe และ Lilly Reich
ซ้าย - ภาพของ Frank Stella ไม่ได้มีการตีความใดๆ มากไปกว่าว่าคุณเห็นอะไรในภาพ
Frank Stella, title not known,
1967.Photo courtesy of Tate Modern.
กลาง - ความสัมพันธ์ของลูกบาศก์ 4 ลูก ที่จัดวางอย่างเป็นระเบียบ ของ Robert Morris สะท้อนตัวตนของผู้ชมและผู้จัดวางในบริบทนั้นๆ
Robert Morris, Untitled (mirrored cubes) (1965/71)
Photo courtesy of the Tate.
ขวา - เช่นเดียวกัน เราอาจพบลายเส้นหรือเส้นทางก็ได้จากภาพเรขาคณิตที่เรียบง่ายและสมมาตราภkพนี้ Die Fahne Hoch!
Frank Stella, Whitney Museum, Gansevoort Street, New York City.
Image courtesy of John St John.
มากไปน้อย
น้อยอย่างไร การที่เราจะน้อยได้ เราต้องมากมาก่อน แท้จริงแล้ว Mininalism เกิดจากความเบื่อหน่ายของศิลปินในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กับงานศิลปะและงานออกแบบแนว Abstract Expressionism (Maximalism นั่นแหละ) เกิดเป็นผลงานกล่องสี่เหลี่ยมทรงพลัง ของ Donal Judd ในปี 1966
ภาพถ่ายศิลปินอเมริกัน Donald Judd กับผลงานของเขา (1928 - 1994) Untitled แม้จะไม่ได้จัดว่าเป็นประติมากรรมหรือจิตรกรรม และแม้ว่าจะปฏิเสธความเป็น Minimalism เขาก็ยังหนีไม่พ้นความเป็นบิดาแห่ง Minimalism อยู่ดี / สตูดิโอและบ้านของเขาที่ปรับปรุงเพื่อรองรับการอยู่อาศัย และรักษาลักษณะเฉพาะของอาคารอุตสาหกรรมเก่าไว้ได้อย่างดี
น้อยๆ แต่ดี
คำว่าน้อยไม่ได้หมายความใช้ให้น้อยลง หรือทำให้น้อยลงอย่างที่เราคิดว่าวางรูปน้อยๆ บนพื้นขาว แต่งบ้านด้วยสีขาว ก็ Minimal ได้ หากแต่เป็นความน้อยที่เกิดจากการคิดให้มาก จัดลำดับความสำคัญและเลือกสิ่งที่จำเป็นในการสร้างสรรค์ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
เริ่มต้นความ Mininal ด้วยผลิตภัณฑ์สำหรับชีวิตประจำวัน ของแบรนด์ที่เกิดจากความไม่อยากมีแบรนด์อย่าง Muji หรือชื่อเต็มๆ คือ ‘Mujirushi Ryohin’ ซึ่งแปลว่าไม่มีแบรนด์ (no brand) เค้าไม่ได้มีแต่ของสีขาวๆ เล็กๆ อย่างเดียวนะ ตอนนี้มีขายไปถึงรถยนต์และบ้านอยู่อาศัยแล้ว ต้องกล้าแค่ไหนกันนะ ถึงไม่ใส่ logo ลงไปบนผลิตภัณฑ์
ซึ่งคำตอบของแต่ละคนแต่ละงานย่อมไม่เหมือนกัน แต่อาจมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน คือลดทอนสิ่งที่เกินกว่าความงามที่เป็นแก่นแท้ มุ่งเน้นสารัตถะเป็นส่วนหนึ่งของงานออกแบบ ดูอย่าง Studio ของ Donal Judd ที่จัดวางข้าวของเครื่องใช้ในครัวแบบ ซ้ำๆ แต่ทรงพลัง นั่นแปลว่าไม่จำเป็นต้องสีขาวอย่างเดียว หรือวางน้อยชิ้นอย่างเดียว ในกรณีนี้ความเป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างพลังของการใช้งานได้อย่างชัดเจน
น้อยไปอีกหรือ
ไม่มีอะไรน้อยไป ไม่มีอะไรมากไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานและจุดมุ่งหมายในการนำเสนองานนั้นๆ ชื่อของผลงานศิลปะในยุค Minimalism ที่เห็นบ่อยๆ คือ UNTITLED เพราะหากเรารู้สึกถึงแก่นแท้แล้ว ชื่อก็ไม่สำคัญอีกต่อไป
Footnote : ในทางปรัชญา สารัตถะ (อังกฤษ: essence) คือคุณลักษณะหรือภาวะอันเป็นเนื้อแท้ ซึ่งทำให้สิ่งหนึ่งๆ เป็นตัวของตัวเอง แตกต่างจากสิ่งอื่นๆ คตินิยมที่ยอมรับว่าสารัตถะมีอยู่จริง เรียกว่าสารัตถนิยม (essentialism)
Source :
https://theminimalists.co
https://www.moma.org
https://www.schirn.de/en/magazine
https://www.floornature.com
Muji.com