Nike ถอนสินค้าออกจาก Marketplace อันดับหนึ่งของโลก!
หนึ่งข่าวใหญ่ที่เกิดขึ้นในวงการ E-Commerce เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมาคือ การที่ Nike ถอนสินค้าของตัวเองออกจาก Amazon.Com มาร์เก็ตเพลสซื้อขายของออนไลน์อันดับหนึ่งของโลก การแยกทางของสองยักษ์ใหญ่ครั้งนี้เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ แต่มีเหตุผลหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่ Nike ต้องการจะควบคุมดูแล Image และ Branding โดยรวมของตัวเองให้มากขึ้น
ถ้ามองให้ลึกถึงปัญหาการที่ Nike อาศัยแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่ของตัวเอง มีโอกาสสูงที่จะต้องทำในสิ่งที่ไม่ตรงกับไดเรกชันของแบรนด์ทำให้สูญเสียความเป็นตัวเอง เพราะเมื่อแบนร์ดต้องไปอาศัยแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่ของตัวเองก็ต้องทำตามวิถีที่แพลตฟอร์มนั้น ๆ กำหนดไว้ ทำให้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์โดยตรง ทั้งนี้ยังไม่นับรวมเรื่องสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ และการขายตัดราคาของผู้ขายที่ไม่ใช่ตัวแทนจำหน่าย
จุดนี้ถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญ เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์ก่อนที่จะเกิดความเสียหายในแบบที่คาดไม่ถึง และตามมาด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มของตัวเอง เพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้บริโภค ผ่านการสร้างสัมพันธ์ส่วนบุคคลมากขึ้น
อย่างไรก็ตามการมีสินค้าขายอยู่ใน Online Marketplace ขนาดใหญ่ ก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสียเสมอไป เพราะแพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถทำให้แบรนด์ Reach ถึงกลุ่มลูกค้าได้ในทันที (ภาพเทนอสดีดนิ้วขึ้นมาในหัว) และนั่นหมายถึงยอดขายที่เติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน
มาถึงตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับการชั่งน้ำหนักของแบรนด์ว่าจะให้ความสำคัญกับสิ่งใดก่อน เพราะทั้งแบรนด์และยอดขายคือสิ่งสำคัญของการทำการตลาด และต้องบอกอีกว่าสิ่งที่ Nike ทำเมื่อปลายปีที่ผ่านนั้น เราน่าจะเริ่มเห็นกันมากขึ้นในปี 2020 แบรนด์จะเริ่มมีการสร้าง Own E-Commerce Channel ในการซื้อขายโดยตรงให้กับลูกค้า (Direct-to-Consumer) โดยไม่เพิ่ง Third-Party หรือคนกลางอื่นๆ แน่นอนว่ามันจะทำให้แบรนด์สามารถควบคุมและดูแล Brand Image และ Customer Experience ได้ตรงตามไดเรกชันที่เจ้าของแบรนด์ต้องการ ซึ่งมันจะพัฒนาไปสู่ยอดขายในที่สุด
สุดท้ายก็ขอปรบมือให้ Nike ที่เลือกแนวทาง Brand Image Over Sales เพราะการได้เพียงแค่ยอดขายแต่แบรนด์ตายก็ไม่ใช่ความสำเร็จของนักการตลาดที่ดี